วันศุกร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ความสำคัญแห่งสิขาบทในพระวินัยปิฏก

พระวินัยปิฎก

พระวินัย ก็คือคำสอนของพระพุทธเจ้าในส่วนที่เป็นกฎ ระเบียบ ข้อห้าม และข้อบังคับ  ที่ทรงบัญญัติไว้เป็นระเบียบประจำสำหรับภิกษุสงฆ์  ดุจกฎหมายอันเป็นระเบียบของบ้านเมือง  เมื่อมีเหตุการณ์อันภิกษุสงฆ์ประพฤติไม่สมควร  ก็ทรงบัญญัติเพื่อความสำรวมระวังต่อไป  และปรับโทษแก่ผู้ล่วงละเมิด  แต่จะไม่ทรงบัญญัติไว้ล่วงหน้า  จะบัญญัติก็ต่อเมื่อมีเหตุการณ์ที่ไม่สมควรเกิดขึ้นก่อน  แล้วจึงทรงบัญญัติห้ามกระทำนั้น ๆ อีก   ความหมายตามพจนานุกรมพุทธศาสน์ ได้ให้ความหมายไว้ว่าระเบียบสำหรับ กำกับความประพฤติ ให้เป็นแบบแผนอันหนึ่งอันเดียวกัน , ประมวลสิกขาบทของพระสงฆ์ทั้งส่วนอาทิพรหมจรรย์และอภิสมาจาร , ถ้าพูดถึงพระวินัย มักหมายถึงพระวินัยปิฎก
พระวินัยปิฎกมีความสำคัญมาก  โดยเหตุที่ว่า  พระวินัยเป็นเกราะป้องกันมิให้สาวกทำความเสื่อมเสียแก่พระศาสนา     อันไม่เป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาของประชาชนทั้งหลาย  ผลสุดท้าย พระศาสนาก็เสื่อม  แต่ถ้าหากว่าพระสงฆ์ประพฤติปฏิบัติตามพระวินัยอย่างเคร่งครัด  หมู่สงฆ์ก็ย่อมจะบริสุทธิ์งดงามด้วยความมีระเบียบ  ย่อมก่อให้เกิดศรัทธาปสาทะของผู้ที่พบเห็น และจะส่งผลให้เกิดความศรัทธาเลื่อมใสในพระศาสนา  เป็นเหตุให้พระศาสนาเจริญรุ่งเรืองมั่นคงถาวรตลอดไป

๑. วิธีตั้งพระบัญญัติ
พระวินัยนั้น  ไม่ได้ทรงวางไว้ล่วงหน้า  ค่อยมีมาโดยลำดับตามเหตุที่เกิดขึ้น  ซึ่งเรียกว่า นิทานบ้าง  ปกรณ์บ้าง นิทานและปกรณ์นี้  เรียกว่ามูลแห่งพระบัญญัติ  ซึ่งเป็นข้อที่ทรงตั้งไว้เดิม พระบัญญัติที่ทรงตั้งไว้แล้ว  แม้ไม่เป็นไปโดยสะดวก  ก็ไม่ทรงถอนเสียทีเดียว  ทรงดัดแปลงเพิ่มเติมทีหลัง เรียกว่า  อนุบัญญัติ  ในสมัยปฐมโพธิกาลนั้น ยังไม่ได้ทรงบัญญัติพระวินัย  ต่อพ้นปฐมโพธิกาลแล้ว  เข้าเขตมัชฌิมโพธิกาล  นับแต่ได้ตรัสรู้พ้น ๒๐ พรรษาล่วงแล้ว จึงทรงบัญญัติพระวินัยขึ้น ซึ่งเมื่อสรุปแล้ว  ขั้นตอนในการบัญญัติพระวินัยของพระพุทธเจ้านั้น ทรงมีขั้นตอนดังต่อไปนี้  คือ
       เมื่อเหตุเกิดขึ้นแล้ว  ตรัสสั่งประชุมสงฆ์
      .   ตรัสถามภิกษุผู้ก่อเหตุให้ทูลรับ
      .   ชี้โทษแห่งการประพฤติผิด  และแสดงอานิสงส์แห่งการสำรวม
       วางโทษคือปรับอาบัติไว้หนักบ้าง เบาบ้าง ตามควรแก่กรณี
ดังนั้น จะเห็นได้ว่า  ขั้นตอนในการบัญญัติพระวินัยของพระพุทธเจ้านั้น  มิได้ทรงบัญญัติไว้ล่วงหน้า  แต่จะทรงบัญญัติเมื่อเหตุการณ์ไม่เหมาะสมนั้น ๆ เกิดขึ้นแล้ว  และเหตุการณ์นั้น ๆ เป็นที่ตำหนิติเตียนในบรรดาหมู่สงฆ์เอง และในหมู่ประชาชนทั่วไป  
การสืบทอดพระวินัยปิฎก  
พระวินัยปิฎกนี้ ในอรรถกถาท่านกล่าวว่า     มีอาจารย์นำสืบกันมาตามลำดับ  ตั้งต้นแต่พระอุบาลีเถระได้เล่าเรียนต่อพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ในขณะที่พระองค์ยังไม่ปรินิพพาน และได้อบรมสั่งสอนภิกษุสืบต่อมาเป็นอันมาก     และก็ได้สืบต่อ ๆ กันมาโดยระบบ มุขปาฐะ  หรือ ท่องจำ (Oral Tradition)  มาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล   มีการนำสืบกันมาตามลำดับอาจารย์ พระเถรานุเถระในปางก่อนเริ่มมาตั้งแต่พระอุบาลีเป็นต้นมา  เป็นผู้ทรงจำพระวินัยไว้ได้อย่างครบถ้วน  แล้วต่อมาพระมหากัสสปเถระได้เป็นประธานในการจัดทำปฐมสังคายนารวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่   และพระเถรานุเถระรุ่นต่อ ๆ มา ก็ได้ทรงจำและทำการสังคายนาไว้รวบรวมไว้สืบต่อกันมาอย่างไม่ขาดสาย  ด้วยการทำสังคายนา โดย การทำสังคายนาทั้ง ๓ ครั้ง  ได้จัดทำในชมพูทวีป  คือ  ภายในประเทศอินเดีย  เมื่อถัดจากการสังคายนาครั้งที่ ๓ พระเถระทั้งหลายมีพระมหินท์เป็นต้น  ก็ได้นำเอาพระวินัยมายังประเทศลังกา และได้มีพระเถรานุเถระทั้งหลายมีพระอริฏฐเถระเป็นต้น      เรียนจากสำนักของพระมหินท์แล้ว และได้นำสืบต่อ ๆ กันมาจนถึงคราวสังคายนาครั้งที่ ๕  ในลังกาทวีป ในรัชสมัยของพระเจ้าวัฏฏคามินีอภัย  โดยมีพระรักขิตมหาเถระเป็นประธาน  กระทำที่อาโลกเลณสถาน  ณ  มตเลชนบท หรือที่เรียกกันว่า  มลัยชนบท   ก็ได้มีการจารึกพระพุทธวจนะลงในใบลาน  ก็เพราะเห็นว่า  ถ้าจะใช้วิธีท่องจำพระพุทธวจนะต่อไป  ก็อาจมีข้อวิปริตผิดพลาดได้ง่าย  เพราะปัญญาในการท่องจำของกุลบุตรเสื่อมถอยลง  นกจากนั้น  พระสงฆ์ยังได้รับความกระทบกระเทือนจากภัยธรรมชาติและภัยสงครามอยู่เนือง ๆ  ทำให้ไม่มีเวลาท่องจำพระพุทธวจนะ  จะทำให้ช่วงการสืบต่อขาดลงได้  มีคำกล่าวว่า  ในการจารึกครั้งนี้มีการจารึกอรรถกถาลงไว้ด้วย จากการที่พระสาวกและพระเถระทั้งหลายในอดีตได้ทรงจำและถ่ายทอดต่อ ๆ กันมา  ทำให้คำสอนของพระพุทธองค์ยังมีปรากฎมาจนตราบเท่าถึงปัจจุบันนี้
๓. โครงสร้างของพระวินัยปิฎก

พระวินัยปิฎก เป็นหนึ่งในคัมภีร์พระไตรปิฎก  มี  ๘ เล่ม  ตั้งแต่เล่ม ๑ ๘  มีอักษรย่อคัมภีร์ว่า  อาปาจุ ซึ่งมีโครงสร้างดังต่อไปนี้
 โครงสร้างพระวินัยปิฎกชั้นบาลี
หมายถึงพระพุทธพจน์  หรือข้อความที่มาในพระไตรปิฎก  จัดแบ่งเป็น ๕ คัมภีร์ เรียกชื่อย่อว่า อา ,ปาจุบ้าง   ปาปาจุ , บ้าง คือ
                      อา  อาทิกัมมิกะ หรือ ปาราชิ ก  คำว่า ปา หมายถึงปาราชิก
                      ปา = คือ ปาจิตตีย์                                           ม    คือ  มหาวรรค
                      จุ    คือ  จุลวรรค                                               คือ   ปริวาร
                 สมาคมบาลีปกรณ์ของอังกฤษ  จัดแบ่งพระวินัยออกเป็น ๓ หมวดด้วยกัน คือ
       สุตตวิภังค์     :   รวมมหาวิภังค์และภิกขุนีวิภังค์เข้าด้วยกัน
     ขันธกะ      :   รวมมหาวรรคและจูฬวรรคเข้าด้วยกัน
     ปริวาร        :   ปริวาร
ในประเทศไทยนั้น ได้จัดแบ่งพระวินัยปิฎกออกเป็น  ๘  เล่ม  ดังนี้ คือ
เล่มที่     มหาวิภังค์ ภาค ๑  เนื้อหาในเล่มนี้ ว่าด้วยสิกขาบทหรือศีลของภิกษุ  ๒๒๗  ข้อ ที่มาในพระปาฏิโมกข์  ในเล่มนี้แบ่งออกเป็น ๗ กัณฑ์  รวมพระบัญญัติ มี  ๑๙  สิกขาบท
เล่มที่     มหาวิภังค์ ภาค ๒    เนื้อหาในเล่มนี้แบ่งได้เป็น  ๔  และในตอนท้าย มีอธิกรณสมถะ วิธีตัดสินอธิกรณ์อีก ๗ ข้อ
เล่มที่     ภิกขุนีวิภังค์    ว่าด้วยสิกขาบทหรือศีลของภิกษุณี ๓๑๑ สิกขาบท ที่มาในพระปาฏิโมกข์  แต่เนื้อหาในเล่มนี้จะแสดงเฉพาะที่ไม่ซ้ำกับของภิกษุเพียง  ๑๓๐  สิกขาบท   แยกออกเป็น ๖  กัณฑ์    เนื้อหาในแต่ละสิกขาบท คือ ตอนต้นแสดงถึงเรื่องที่ภิกษุณีประพฤติเสื่อมเสีย  เป็นเหตุให้ทรงบัญญัติ  ตอนปลายแสดงถึงวิธีต่าง ๆ ว่าทำอย่างไรเป็นอาบัติ  อย่างไรเป็นอนาบัติ  ทำอย่างไรจึงจะพ้นจากอาบัตินั้น ๆ เป็นต้น
เล่มที่  ๔  มหาวรรค ภาค ๑   พระไตรปิฎกตั้งแต่เล่มที่ ๔ - ๘ แสดงถึงเรื่องสิกขาบทที่มานอกพระปาฏิโมกข์  อันเป็นขนบธรรมเนียมระเบียบวิธีการของภิกษุ จัดเป็นหมวด ๆ เรียกว่า ขันธกะ ในเล่มที่  ๔  นี้มีจำนวนขันธกะ ๔  ขันธกะ  
 เล่มที่   ๕  มหาวรรค ภาค ๒      ต่อจากมหาวรรคภาค ๑   ในเล่มนี้มีอยู่  ๖  ขันธกะ คือ จัมมขันธกะ   เภสัชชขันธกะ   กฐินขันธกะ  จีวรขันธกะ  จัมเปยยขันธกะ  โกสัมพิกขันธกะ  
เล่มที่     จูฬวรรค ภาค ๑   ชื่ด จุลวรรค  แปลว่า วรรคน้อย มีเนื้อความไม่ยืดยาวเหมือนมหาวรรค  ในเล่มนี้  มี  ๔  ขันธกะ  คือ กรรมขันธกะ  ปริวาสิกขันธกะ  สมุจจยขันธกะ  สมถขันธกะ  
เล่มที่     จูฬวรรค ภาค ๒   ในเล่มนี้แบ่งออกเป็น  ๘  ขันธกะ คือ ว่าด้วยอภิสมาจาร  ว่าด้วยเรื่องเสนาสนะ   ว่าด้วยเรื่องทำสังฆเภทของพระเทวทัตต์ ว่าด้วยธรรมเนียมของภิกษุ   ว่าด้วยความอัศจรรย์ในพระธรรมวินัย   กล่าวถึงประวัติพระนางมหาปชาบดีโคตมี  ว่าด้วยปฐมสังคายนา และว่าด้วยทุติยสังคายนา
เล่มที่     ปริวาร         ในเล่มนี้ว่าด้วยข้อปลีกย่อย อธิบายเรื่องราวในมหาวิภังค์ มหาวรรค และจุลวรรค ใน ๗ เล่มข้างต้นให้พิสดารขึ้น  เช่น ตั้งเป็นคำถามคำตอบ วินิจฉัยอาบัติ อนาบัติ อาบัติทั่วไปสำหรับภิกษุ และภิกษุณี  อาบัติที่ไม่ทั่วไปทั้ง ๒ ฝ่าย และตอนท้ายเล่มยังมีปัญหาวินัยที่ผูกไว้เป็นคำกวีเรียกว่า  เสทโมจนคาถา (คาถาเหงื่อแตก คือ เป็นปัญหาที่ลึกลับซับซ้อน คิดแก้กันจนเหงื่อไหล  พร้อมทั้งมีคำเฉลยของปัญหาเหล่านั้น
 โครงสร้างพระวินัยปิฎกชั้นอรรถกถา  
โครงสร้างพระวินัยปิฎกชั้นอรรถกถา  หมายถึง ปกรณ์หรือคัมภีร์ที่พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายได้รจนาขึ้นเพื่ออธิบายความในพระวินัยปิฎกให้มีความแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น  เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ศึกษาพระวินัย  จะได้สามารถเข้าใจถึงพระวินัยได้ชัดเจนมากขึ้น   และสามารถนำไปสั่งสอนบุคคลอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ   อรรถกถาดังต่อไปนี้เป็นอรรถกถาพระวินัยปิฎก  ซึ่งเป็นภาษาสิงหลโบราณ
๓.  โครงสร้างพระวินัยปิฎกชั้นฎีกา  
หมายถึงปกรณ์หรือคัมภีร์ที่พระอาจารย์ทั้งหลายได้รจนาแก้หรืออธิบายเพิ่มเติมอรรถกถา เป็นคัมภีร์ที่เกิดขึ้นหลังอรรถกถา  คำว่า ฎีกา  แปลว่า  วาจาเป็นเครื่องกำหนด  เล็งนัย  เฉพาะคำพูด  ความมุ่งหมายของฎีกา  คือ  การกำหนดคำอธิบายในอรรถกถา  ที่ยากให้เข้าใจง่ายขึ้น  ในคัมภีร์อรรถกถา  มีการอธิบายพระไตรปิฎก  ในแง่มุมต่างๆ ประกอบด้วยความคิด ความเชื่อ ประเพณีวัฒนธรรม สังคม ฯลฯ ของท้องถิ่น
ส่วนคัมภีร์ฎีกาจะเน้นเฉพาะข้อความที่ยาก  หรือไม่ชัดเจนมากกว่าแง่อื่น  บางที่ใช้คำว่า  ลีนัตถปกาสนา  หรือ ลีนัตถปกาสินีนำหน้า   คำว่า ฎีกา  ซึ่งแปลว่า  การประกาศ หรือเปิดเผยเนื้อความที่ซ่อนเร้น  บางแห่งใช้ลีนัตถโชติกา  นอกจากนี้แล้วยังมีคำที่ใช้แบบเดียวกัน  เช่น คัณฐี  แปลว่า ปม เงื่อนงำ  หมายถึงคัมภีร์ ที่ชี้ปมหรือเงื่อนงำที่สำคัญ  คัมภีร์ที่ต่อท้ายด้วยคำนี้  เช่น  จูฬคัณฐี  เป็นต้น อีกคำหนึ่งที่ควรกล่าวถึง  คือ คำว่า ทีปนี  เป็นคำลงท้าย  แปลว่าการอธิบายให้แจ่มแจ้ง  เหล่านี้ล้วนจัดอยู่ในประเภทเดียวกันทั้งสิ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมาชิกในกลุ่ม มมร.สธ.ป.โท รัฐศาสตร์ สาขาวิชาการปกครอง รุ่นที่9

             นางสาวภัสรา  ป้อมน้อย              นางกันยารัตน์  อาจแสน                นางนิภาภัทร ทองโสภณ